วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กิจกรรมที่ 4
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา
คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
1.
ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
2.
สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
3.
มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
4. มีเวลาเพียงพอ
5.
มีงบประมาณเพียงพอ
6. มีความปลอดภัย
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ
จะช่วยให้ได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม
ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
1. จะทำ อะไร
2. ทำไมต้องทำ
3.
ต้องการให้เกิดอะไร
4. ทำอย่างไร
5. ใช้ทรัพยากรอะไร
6. ทำกับใคร
7. เสนอผลอย่างไร
3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน
รายงาน
|
รายละเอียดที่ต้องระบุ
|
ชื่อโครงงาน
|
ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
|
ประเภทโครงงาน
|
วิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้
|
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
|
ผู้รับผิดชอบโครงงาน
อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
|
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
|
ครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
และควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
|
ครูที่ปรึกษาร่วม
|
ครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม
ให้คำแนะนำในการทำโครงงานของนักเรียน
|
ระยะเวลาดำเนินงาน
|
ระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน
ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กำหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้
|
แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
|
สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
|
วัตถุประสงค์
|
สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ
และผลผลิต
|
หลักการและทฤษฎี
|
หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
|
วิธีดำเนินงาน
|
กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ
วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ
|
ขั้นตอนการปฏิบัติ
|
วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่างๆ
ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
|
สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด
ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
|
เอกสารอ้างอิง
|
สื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ
ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน
|
4. การลงมือทำโครงงาน
4.1 การเตรียมการ
การเตรียมการ
ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ
ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย
และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร
ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
4.2 การลงมือพัฒนา
1.
ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
2.
จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทำ
ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น
3.
พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
ตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน
เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ
ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
4.4
การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว
ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม
เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน
และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ
ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี
หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว
อาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา
ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้
5. การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ
เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน
กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
5.1 ส่วนนำ
ส่วนนำ
เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3.
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. คำขอบคุณ
เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
5. บทคัดย่อ
อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
5.2 บทนำ
บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
1.
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
2.
เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
3. ขอบเขตของโครงงาน
5.3 หลักการและทฤษฎี
หลักการและทฤษฎี
เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี
หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
5.4 วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการ
อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด
พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข
พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
5.5 ผลการศึกษา
ผลการศึกษา
นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ
ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำงาน
ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้
นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์
อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ
หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
5.7 ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น
และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย
5.8 บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า
หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ
โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
5.9
การจัดทำคู่มือการใช้งาน
หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด
ซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อผลงาน
2.
ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์
ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
3.
ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
4.
คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง
รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
5.
วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด
เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน
เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท
และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ
กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม
การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น
โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
2.
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
3.
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4.
คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
5.
วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
6. การสาธิตผลงาน
7.
ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงานที่มาของข้อมูล : http://www.acr.ac.th/acr/
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
กิจกรรมที่ 3
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ
1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
ที่มาของรูป : https://sites.google.com/site/kknmathayom3/home/prapheth
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล : http://father088888.blogspot.com/2013/07/blog-post_2346.html
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย
ที่มาของข้อมูล : http://ingfarsasinun.blogspot.com/2015/07/2.html
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ
เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ
ที่มาของรูป : http://itbiz.lekasina.com/archives/3913
ที่มาของข้อมูล : http://www.acr.ac.th/acr/
กิจกรรมที่ 2
ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์
คือ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนมีอิสระทางความคิดทางการศึกษาปัญหาและสิ่งต่างๆ ที่ตนเองในใจ โดยนักเรียนต้องมีการวางแผนการศึกษาและนักเรียนจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรู้กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษาประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และท าให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน
ร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมถึงการฝึกความกล้าแสดงออกในการนำเสนอผลงานของตน
ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อ
อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
2. ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
2.2 การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
2.3 การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
2.4 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อ
สังคมทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
2.5 การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการน าเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและ
ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม
ที่มาของข้อมูล : https://sites.google.com/a/sw101.ac.th/krujumka/hnwy-kar-reiyn-ru13
ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์
มีองค์ประกอบดังนี้
1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย
ที่มาของข้อมูล : https://www.gotoknow.org/posts/314100
วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560
กิจกรรมที่ 1
รู้จักระบบ TCAS 61
ระบบที่ใช้ในการคัดเลือกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561 ใช้ชื่อว่า Thai University Central Admission System หรือ TCAS 61 เป็นระบบกลางในการบริหารจัดการการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของน้องๆ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 รอบ แต่ละรอบก็จะมีเงื่อนไขที่ต่างกัน ถ้าสอบติดในรอบไหนแล้วก็จะไม่สามารถสมัครในรอบต่อไปได้ โดยทั้ง 5 รอบประกอบไปด้วย
รอบที่ 1 รอบใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
รอบที่ 2 รอบรับแบบโควตา
รอบที่ 3 รอบรับตรงร่วมกัน
รอบที่ 4 รอบแอดมิชชั่น
รอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ
กำหนดการของระบบ TCAS 61
รอบที่ 1 รอบใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) รับตรงที่คัดเลือกโดยการใช้ Portfolio เป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ (ไม่มีการสอบข้อเขียน)
รอบที่ 1 รอบใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
รอบที่ 2 รอบรับแบบโควตา
รอบที่ 3 รอบรับตรงร่วมกัน
รอบที่ 4 รอบแอดมิชชั่น
รอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ
กำหนดการของระบบ TCAS 61
รอบที่ 1 รอบใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) รับตรงที่คัดเลือกโดยการใช้ Portfolio เป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ (ไม่มีการสอบข้อเขียน)
รอบที่ 3 รอบรับตรงร่วมกัน (โครงการรับตรงทั่วประเทศ กสพท รับตรงทั่วไป) สมัครผ่านระบบ TCAS
รอบที่ 4 รอบแอดมิชชั่น
รอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ
จำนวนรับในระบบ TCAS 61
รอบที่ 1 รอบใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) 44,258 ที่นั่ง
รอบที่ 2 รอบรับแบบโควตา 68,050 ที่นั่ง
รอบที่ 3 รอบรับตรงร่วมกัน 44,390 ที่นั่ง
รอบที่ 4 รอบแอดมิชชั่น 34,744 ที่นั่ง
รอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ 15,064 ที่นั่ง
เก็บประเด็นงานแถลงข่าว
- ระบบ TCAS 61 เป็นระบบกลางที่ช่วยให้การบริหารจัดการการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย โดยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ลดการเดินทางสอบ ลดการได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบและอื่นๆ ลดช่องทางการเสียโอกาสในการสอบติดหลายที่และไม่เรียน และให้น้องๆ ได้ใช้เวลาในชีวิตมัธยมศึกษาให้มากที่สุด การสอบทั้งหมดจะเริ่มหลังจากที่เรียนจบ ม.6 แล้ว
- ระบบนี้ไม่ใช่ระบบเอนทรานซ์และไม่ใช่ระบบแอดมิชชั่น แต่เป็นระบบใหญ่ที่มีรอบแอดมิชชั่นเป็นส่วนหนึ่งของระบบ (คือ รอบที่ 4 นั่นเอง)
- การรับรอบที่ 1 รอบ Portfolio จะเป็นการสมัครโดยตรงกับมหาวิทยาลัย ใช้เป็นการสมัครแบบออนไลน์ อัพโหลดเอกสารและอาจจะมีการอัพโหลดความสามารถของตนเอง เช่น อัดคลิปการรำของตัวเอง ส่งให้โครงการรับตรงนั้นดู เป็นต้น
- การรับรอบที่ 2 โควตา (ไม่ได้รับทั่วประเทศ) สมัครที่มหาวิทยาลัย รอบนี้จะเน้นการใช้คะแนนกลาง (O-NET, GAT PAT, วิชาสามัญ) แต่สามารถจัดสอบวิชาเฉพาะเพิ่มเองได้ แต่ต้องไม่ใช่วิชาที่การสอบกลางมีอยู่แล้ว โดยการจัดสอบต้องอยู่ในช่วง 24 ก.พ. - 12 เม.ย.61 และต้องไม่ทับกับ 3 ข้อสอบกลาง คือ O-NET, GAT PAT และ 9 วิชาสามัญ (สามารถจัดสอบวันธรรมดาได้)
- โครงการ กสพท จัดอยู่ในรอบ 3 ซึ่งในรอบนี้ สามารถเลือกได้ 4 อันดับ โดย กสพท นับเป็น 1 อันดับ ซึ่ง 3 อันดับที่เหลือห้ามเลือกคณะทับซ้อนกันกับ กสพท เช่น เลือกแพทย์ 4 อันดับใน กสพท แล้ว จะมาเลือกแพทย์อีก 3 อันดับไม่ได้ (บังคับกลายๆ ว่าถ้าน้องๆ เลือกแพทย์ใน กสพท ไปแล้วก็ต้องลงแค่ใน กสพท)
- ถ้าติดรอบก่อนไปแล้ว เช่น ติดในรอบที่ 2 จะไม่สามารถสมัครในรอบต่อไป คือรอบที่ 3 ได้ เว้นแต่ว่าจะสละสิทธิ์ก่อนที่ ทปอ. จะส่งรายชื่อให้มหาวิทยาลัย (ต้องสละสิทธิ์ให้ทันเวลาของระบบ ซึ่งการสละสิทธิ์ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย )
- เด็กซิ่วมีสิทธิ์เท่ากับเด็ก ม.6 ปี 61 จะสมัครโครงการไหนก็ได้ ต้องยึดตามระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย
ทำไมต้องปรับ?
เนื่องจากในหลายปีที่ผ่านมา กว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องผ่านการสอบหลายครั้ง ทั้งการสอบข้อสอบกลางอย่าง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ และ O-Net ที่จัดตลอดทั้งปี อีกทั้งบางมหาวิทยาลัยก็มีการจัดสอบตรงของตนเอง และมีการรับที่หลายรอบเกินไป เกิดการวิ่งสอบและกันที่เกิดขึ้น รวมทั้งเงินค่าสมัครและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เสียซ้ำซ้อนและมากเกินไปนั่นเอง..
“โดยยึดหลักการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา ไม่เกิดปัญหาการวิ่งรอกสอบ ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครอง เด็กมีสิทธิ์ที่เลือกเรียนตามที่ต้องการ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเด็กได้เช่นกัน”
“โดยยึดหลักการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา ไม่เกิดปัญหาการวิ่งรอกสอบ ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครอง เด็กมีสิทธิ์ที่เลือกเรียนตามที่ต้องการ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเด็กได้เช่นกัน”
ปรับอะไรบ้าง?
การสอบทั่วไป
สำหรับบรรดาการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังน้องๆ จบชั้น ม.6 ทั้งหมด โดยจัดสอบในเดือนมีนาคม – เมษายน 2561 ทั้งหมด 6 สัปดาห์ โดยมีกำหนดการดังนี้ :
สัปดาห์ที่ | วันสอบ | รายการสอบ | จัดสอบโดย |
---|---|---|---|
1 | 24 – 27 กุมภาพันธ์ 2561 | GAT / PAT ปีการศึกษา 2561 | สทศ |
2 | 3 – 4 มีนาคม 2561 | O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2560 | สทศ |
4 | 17 – 18 มีนาคม 2561 | 9 วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2561 | สทศ |
3, 5, 6, 7 | 24 กุมภาพันธ์ – 12 เมษายน 2561 | กสพท. และ วิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย | มหาวิทยาลัยต่างๆ หรือองค์กรที่จัดสอบ |
และพิเศษ! ทาง ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) ได้มีการเพิ่ม ภาษาเกาหลี เป็นภาษาเพิ่มเติมในการสอบ PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศอีกด้วย โดยจะจัดสอบครั้งแรกในการสอบ GAT-PAT ปีการศึกษา 2561
ทุกรอบมี “เคลียริ่งเฮาส์” (Clearing House)
เนื่องจากปัญหาในหลายๆ ปีที่ผ่านมาที่มีปัญหาวิ่งสอบ แล้วกั๊กที่นั่งเรียนทำให้คนอื่นเสียสิทธิ์ไป ในระบบการคัดเลือกใหม่ ดังนั้นในระบบการคัดเลือกใหม่ ทาง ทปอ. จึงขอความร่วมมือให้ทุกมหาวิทยาลัยต้องเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ในทุกรอบ เพื่อให้น้องๆ กดยืนยันสิทธิ์การศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ หลังสอบรอบนั้นๆ เสร็จ และเมื่อกดยืนยันในรอบนั้นๆ แล้วจะไม่สามารถสมัครสอบใหม่ในรอบอื่นๆ ได้อีกนั่นเอง
รอบที่ | ประเภทการรับ | วันที่ต้องยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ |
---|---|---|
รอบที่ 1 | ยื่นด้วยแฟ้มสะสมผลงาน | ครั้งที่ 1 : 15-19 ธันวาคม 2560 |
ครั้งที่ 2 : 19-22 มีนาคม 2561 | ||
รอบที่ 2 | รับแบบโควต้า | 3-6 พฤษภาคม 2561 |
รอบที่ 3 | การรับตรงร่วมกัน | 26-28 พฤษภาคม 2561 |
รอบที่ 4 | รับแบบแอดมิชชั่น | ไม่มีเคลียริ่งเฮาส์ |
รอบที่ 5 | การรับตรงอิสระ | ไม่มีเคลียริ่งเฮาส์ |
แล้วถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล่ะ ?
สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะเข้าร่วมการคัดเลือกในการสมัครรอบที่ 1-3 และรอบที่ 5 แต่จะไม่มีกาสอบรอบแอดมิชชั่น เพราะมหาวิทยาลัยทั้ง 2 กลุ่มนั้นเปิดภาคเรียนแล้วนั่นเอง!
ถ้าจบจากต่างประเทศ ?
สำหรับน้องๆ ที่จบหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ทางกระทรวงศึกษาธิการประกาศแล้วว่าไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา สามารถสมัครเรียนต่อตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้
สำหรับน้องๆ หลักสูตรนานาชาติหรือจบจากต่างประเทศ สามารถสมัครสอบเข้าได้ 3 รูปแบบ คือ
- ในรอบที่ 1 แบบที่ไม่มีการสอบเพิ่มเติม : อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 ได้ โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 4 ได้ แต่ต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด
ที่มาของข้อมูล : https://seniorswu.in.th/2017/tcas-admission/
ที่มาของรูป : https://image.dek-d.com/27/0098/4655/123996286
ที่มาของรูป : https://pbs.twimg.com/media/DGtC0GAUQAECS6_.jpg
ที่มาของรูป : https://pbs.twimg.com/media/DBoo7nSV0AAOKa-.jpg
ที่มาของรูป : https://pbs.twimg.com/media/DIfM-jCWsAAd9MH.jpg
TCAS 61
ที่มา : https://youtu.be/phBTetURvJs
ที่มา : https://youtu.be/eOKmwfGzkH4
กสพท. 61
ที่มา : https://youtu.be/-bTIbMMGMfc
รวมข้อสอบ 9 วิชาสามัญ
https://campus.campus-star.com/education/24168.html
รวมข้อสอบ GAT PAT , 9 วิชาสามัญ , O-NET
https://www.slideshare.net/9gatpat/documents
รวมข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย
http://rathcenter.com/index.html
คลังความรู้
โรคไหลตาย
โรคไหลตาย มีสาเหตุที่สำคัญคือภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคมี 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจัยต่อมาคือการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด
กลไกการเกิดภาวะโรคไหลตาย อธิบายได้ดังนี้ โดยปกติแล้วการเต้นของหัวใจคนเรานั้นเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าเกิดจากเกลือแร่ที่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา โดยเกลือแร่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น ซึ่งต้องวิ่งเข้าออกบริเวณที่เปรียบเสมือนประตู แต่ในคนที่เกิดภาวะไหลตายนั้นพบว่าประตูที่ทำให้โซเดียมเข้าออกเซลล์นั้นมีน้อยกว่าคนปกติ เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด และเป็นสาเหตุในระดับเซลล์ คนกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับอาหารการกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไหลตาย
การเกิดภาวะไหลตายเกี่ยวข้องกับการเต้นระริกของหัวใจ ที่เราพบในคนไข้ไหลตายนั้นเกิดจากหัวใจห้องล่าง ซึ่งปกติเป็นปั๊มหลักคอยบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อประตูหัวใจห้องล่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำให้มีการเต้นไม่สม่ำเสมอของหัวใจห้องล่าง เกิดไฟฟ้ามากระตุ้นให้เป็นจุดเล็กๆ และแทนที่หัวใจห้องล่างจะบีบตัวโครมๆ เพื่อเอาเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ก็บีบตัวไม่ได้และสั่นระริกๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ ภายใน 30 วินาทีจะเป็นลมหมดสติ 4 นาทีต่อมาถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นสมองจะตาย และภายใน 6-7 นาที ถ้ายังไม่หายก็จะเสียชีวิตในที่สุด
อาการแสดงของภาวะเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ คือเกิดการเกร็งของแขนและขา หายใจเสียงดังจากการมีเสมหะในหลอดลม บางรายปัสสาวะและอุจจาระราด เพราะสูญเสียการควบคุมของระบบประสาทโดยอัตโนมัติ ผู้ป่วยจะมีใบหน้าและริมฝีปากเขียวคล้ำ จากนั้นจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการกู้ชีพที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานเป็นปกติ เพื่อหยุด BF ให้เร็วที่สุด แต่บางครั้ง BF ก็อาจหยุดเองได้และผู้ป่วยสามารถรอดตายได้เช่นกัน แต่สมองอาจพิการถาวรหากขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน
การรักษาโรคไหลตายในทางการแพทย์มี 2 วิธี ได้แก่ การใช้ยาและการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ โดยในการให้ยานั้นขึ้นอยู่กับอาการโรคไหลตายว่ารุนแรงแค่ไหน หากรุนแรงมาก การใช้ยารักษาก็อาจไม่ได้ผล และต้องใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเข้าไปในร่างกายแทน
คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไหลตายในวันปกติจะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น แต่ในวันร้ายคืนร้าย กล่าวคือ ในวันพักผ่อนน้อย ดื่มเหล้า หรือใช้สารเสพติด รวมถึงยาบางอย่างหรือในวันที่ไม่สบาย อาจทำให้อาการไหลตายเกิดขึ้นและเสียชีวิตกระทันหันในวันเหล่านั้น
วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้ผู้ที่เคยตกอยู่ในภาวะไหลตายสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ การดูแลหลังการรักษานั้นต้องหลีกเลี่ยงการกดบริเวณหัวไหล่ ไหปลาร้าข้างที่ใส่เครื่อง เพราะอาจทำให้สายหัก ทั้งนี้ด้านอาหารการกินยังต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน รับประทานอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย และรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารเพียงพอต่อร่างกายโดยเฉพาะวิตามินบี ที่สำคัญควรรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ เต้าหู้ เป็นต้น
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไหลตาย คือจับผู้ป่วยนอนราบ ระหว่างรอรถพยาบาลหรือรอคนมาช่วยให้ประเมินผู้ป่วย หากพบว่าไม่หายใจหรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบลงราว 1.5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัวเป็นชุด ในความถี่ราว 100 ครั้งต่อนาทีโดยไม่หยุดจนกว่าจะถึงมือแพทย์หรือจนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว และไม่ควรเสียเวลาโดยไม่จำเป็น เช่น งัดปากคนไข้ด้วยของแข็งเพราะอาจเป็นอันตราย และให้ระลึกเสมอว่าคนที่เป็นโรคไหลตายอาจจะมีโรคอื่นของสมอง เช่น ลมชัก โรคหัวใจ ที่อาจเป็นเหตุให้หมดสติได้เช่นกัน
ที่มาของข้อมูล : https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/
การทำ CPR
Cardiopulmonary Resuscitation หรือเรียกง่าย ๆ ว่า CPR คือ การปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้กลับมาหายใจ และมีการไหลเวียนออกซิเจนรวมทั้งเลือดกลับคืนสู่สภาพเดิม พร้อมทั้งป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร โดยเราสามารถทำการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานให้ผู้ประสบเหตุได้โดยการกดหน้าอกและช่วยหายใจ
ทั้งนี้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดได้จากการเป็นโรคหัวใจ, ออกกำลังกายมากเกินไป, ตกใจหรือเสียใจกะทันหัน, จากการสูญเสียเลือดมาก, เลือดมาเลี้ยงหัวใจไม่ทัน, ทางเดินหายใจอุดกั้น รวมทั้งอาจเกิดจากการได้รับยาเกินขนาดหรือแพ้ยา
ดังนั้นจึงมีการบัญญัติ "ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต" (Chain of Survival) เพื่อเป็นหลักการช่วยฟื้นคืนชีพแนวทางเดียวกันทั่วโลกและเป็นข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ประกอบด้วย
1. การประเมินผู้ป่วยว่ายังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ หากไม่มีสติ คลำหาชีพจรไม่พบ ควรเรียกขอความช่วยเหลือหรือเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานต่าง ๆ ทันที เช่น ศูนย์เอราวัณ (เฉพาะในพื้นที่ กทม.) โทร. 1646, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669 (ทั่วประเทศ)
2. การกดหน้าอกอย่างถูกต้องและทันท่วงที (ทำ CPR)
3. การทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ (AED) ภายใน 3-5 นาที เมื่อมีข้อบ่งชี้
4. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การดูแลภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพ
สำหรับอาการของผู้บาดเจ็บที่ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วยการทำ CPR สามารถสังเกตได้ดังนี้ 1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
2. ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก
3. หัวใจหยุดเต้น
2. ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก
3. หัวใจหยุดเต้น
ที่มาของข้อมูล : https://health.kapook.com/view174233.html
ที่มา : https://youtu.be/omENUtbbEJA
เสริมกำลังใจ
ที่มาของข้อมูล : https://thaiodb.org/2016ผมชอบดูนกที่กำลังเล่นกัน ผมจึงสร้างบ้านนกไว้ที่สวนหลังบ้านให้นกมาทำรัง นานหลายเดือนที่ผมเฝ้าดูพวกมันกินอาหารและโผบินไปมา จนกระทั่งมีเหยี่ยวมารุกรานบ้านนกของผม
ชีวิตก็เป็นแบบนี้ เมื่อใดที่เราลงหลักปักฐานเริ่มจะได้ผ่อนคลาย ก็จะมีบางคนหรือบางสิ่งมาทำให้วุ่นวาย จนเราเฝ้าถามว่าทำไมชีวิตช่างเหนื่อยยากนัก ผมเคยได้ยินคำตอบของคำถามนี้มาไม่น้อย แต่ผมชอบคำตอบที่ว่า “ความทุกข์ยากทั้งหลายในโลกล้วนแต่เพื่อให้เราเป็นดังเด็กน้อย ที่พระเจ้าจะทรงเปิดเผยพระองค์เองแก่ เรา” (จากหนังสือสาระแห่งชีวิต โดยจอร์จ แมคโดนัลด์) เมื่อเราเป็นเหมือนเด็กๆ เราจะไว้วางใจ พักสงบในความรักของพระบิดาในสวรรค์ และแสวงหาที่จะรู้จักและเป็นเหมือนพระองค์ความกังวลและโศกเศร้าอาจติดตามเราไปตราบเท่าที่เรามีชีวิต แต่ “เราจึงไม่ย่อท้อ…เพราะว่าการทุกข์ยากเล็กๆ น้อยๆ ของเรา ซึ่งเรารับอยู่ประเดี๋ยวเดียวนั้น จะทำให้เรามีศักดิ์ศรีถาวรมากหาที่เปรียบมิได้ เพราะว่าเราไม่ได้เห็นแก่สิ่งของที่เรามองเห็นอยู่ แต่เห็นแก่สิ่งของที่มองไม่เห็นเพราะว่าสิ่งของซึ่งมองเห็นอยู่นั้นเป็นของไม่ยั่งยืน แต่สิ่งซึ่งมองไม่เห็นนั้นก็ถาวรนิรันดร์” (2 โครินธ์ 4:16-18)ข้าแต่พระเจ้า เราชื่นชมยินดีแม้ในความยากลำบากเพราะเรายินดีในสิ่งที่พระองค์ทรงเป็น และน้ำพระทัยอันดีเลิศในชีวิตเรา พระองค์ทรงมีฤทธิ์อำนาจเปี่ยมด้วยความรัก ปกป้องและทรงดำรงอยู่เป็นนิตย์ เรารักและวางใจในพระองค์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
กิจกรรมที่ 5
01สวยใสจากภายในสู่ภายนอก from Pinchanok Muangping
-
• เรื่อง สิวสิว☹ ปัญหาสิว เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ธรรมชาติของผิวหน้าแต่ละคนนั้นจะแตกต่างก...
-
Blogger from Krittapas Sutthiphiban